แผนธุรกิจ เอม สตาร์

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

แผนธุรกิจสตาร์แมทชิ่ง (STARMATCHING)

          แผนธุรกิจสตาร์แมทชิ่งซึ่งเป็นแผนธุรกิจที่ง่ายต่อการปฏิบัติงานให้ผลตอบแทนกับนักธุกิจเอมสตาร์อย่างสูงสุดจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริหารองค์กรธุรกิจของบริษัทฯ โดยนัดธุรกิจเอมสตาร์จะได้รับรายได้ต่างๆ ดังนี้



3. โบนัสส่วนบุคคล 20%

4. โบนัสทีมอ่อน 20%

5. โบนัสทีมแข็ง 10-13%

6. โบนัสสตาร์แมทชิ่ง ทีมลูก 100%

7. โบนัสสตาร์แมทชิ่ง ทีมหลาน 50%

เกี่ยวกับบริษัท เอม สตาร์ เน็ทเวิร์ค

         บริษัทเอมสตาร์เน็ทเวิร์ค ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจในกลุ่มผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่คัดสรร ผลิตภัณฑ์คุณภาพเยี่ยมมาตรฐานสูงที่ทรงประสิทธิภาพจากทั่วโลก โดยมีการดำเนินธุรกิจแบบเครือข่าย ด้วยแผนธุรกิจสตาร์แมทชิ่ง ซึ่ง เป็นนวัตกรรมการจ่ายผลตอบแทนที่สร้างรายได้แก่นักธุรกิจเอมสตาร์ อย่างต่อเนื่องและไร้ขีดจำกัด บริษัทมีสำนักใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 1191 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
         
ปณิธานของบริษัทฯ

          บริษัทฯ มีความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจเครือข่าย บริษัทฯ พร้อมที่จะสนับสนุนให้นักธุรกิจเอมสตาร์ ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด สิ่งที่เป็นตัวกำหนดแนวทางปฏิบัติงาน และสร้างสรรค์ให้นักธุรกิจเอมสตาร์ กับเจ้าหน้าที่ทุกคนของบริษัทฯ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ ทั้งของนักธุรกิจเอมสตาร์ และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทฯ ขอให้คำมั่นสัญญา กับนักธุรกิจเอมสตาร์ในการดำเนินธุรกิจดังนี้

          1.บริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และจริยธรรมสูงสุด
          
          2.บริษัทฯ จะนำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สุดที่เทคโนโลยีในขณะนั้นจะสามารถผลิตได้
         
          3.บริษัทฯ จะทุ่มเทสรรพกำลังที่จะร่วมสร้างความเจริญเติบโตแก่ธุรกิจของนักธุรกิจเอมสตาร์
          
          4.บริษัทฯ จะสนับสนุนให้นักธุรกิจเอมสตาร์บรรลุเป้าหมาย และประสบความสำเร็จด้วยความยินดี

และเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง
          
           5. บริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจโดยมีความใฝ่ฝันของนักธุรกิจเอมสตาร์ทุกท่านเป็นแรงบันดาลใจ 

และจะเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน จนถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จ

วิสัยทัศน์ (Vision)

          มุ่งมั่งสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศในธุรกิจเครือข่าย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักธุรกิจเอมสตาร์ และผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์และการบริการที่ดีที่สุด บริษัทฯ และนักธุรกิจเอมสตาร์จะเติบโต และก้าวไปสู่เป้าหมายสู่ความสำเร็จ และความสุขร่วมกัน

พันธะกิจ (Mission)

          ด้วย วิสัยทัศน์อันยาวไกลของผู้บริหาร ผสานเจตนารมณ์ที่จะเป็นแบบอย่าง และภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจเครือข่าย เรามีพันธะกิจต่อนักธุรกิจเอมสตาร์ ดังต่อไปนี้

          1.มุ่งมั่นให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง (Healthy)

          2.มุ่งมั่นให้ทุกคนมีฐานะดี และมั่นคง(Wealthy)

          3.มุ่งมั่นให้ทุกคนมีความสามารถเพิ่มพูน(Wisdom)

          4.มุ่งมั่นให้ทุกคนมีความสุขทั้งครอบครัว(Happiness)

คำขวัญประจำบริษัทฯ


       

ธุรกิจเครือข่าย แชร์ลูกโซ่ ความเหมือนที่แตกต่าง

แชร์ลูกโซ่คืออะไร

          แชร์ ลูกโซ่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่มุ่งประสงค์เพื่อหารายได้จากการระดมทุนเป็นหลัก โดยมีการสัญญาในการเข้าร่วมธุรกิจที่จะตอบแทนผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สูงกว่าเงินลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการมักจะอ้างถึงการนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ต่อ ๆ ไป เพื่อปันรายได้แจกจ่ายผู้เข้าร่วมธุรกิจอย่างทั่วถึง แต่ผลของมัน คือ การที่ตอบแทนผลประโยชน์ในช่วงต้น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการร่วมธุรกิจต่อเนื่องจนเมื่อถึงจุดที่ผู้ประกอบการ หวังผลในการระดมทุนสำเร็จแล้ว ก็จะหาทางปิดตัวไปเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายผลประโยชน์ต่อ ๆ ไป หรืออาจจะดำเนินการต่อเนื่องจนกว่าฐานที่เข้ามาหรือผู้เข้าร่วมธุรกิจที่ เข้ามาในช่วงหลังจะไม่สามารถหมุนเวียนเงินตอบแทนได้กับคนที่มาก่อนได้ ก็จะเริ่มปิดตัวลง


ลักษณะและวิธีการดำเนินงาน

การหาสมาชิก และการจ่ายผลประโยชน์


          ส่วนใหญ่วิธีการดำเนินงานของแชร์ลูกโซ่จะเริ่มจากวงแคบ ๆ จากเพื่อนคนใกล้ชิดแล้วค่อย ๆ ขยายตัวไปรอบนอก จนถึงขั้นควบคุมไม่ได้ เพราะจะเริ่มออกสู่วงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ การหาสมาชิกก็จะใช้วิธีสร้างภาพลวง หว่านล้อมให้เกิดความเชื่อและการจ่ายผลประโยชน์กับสมาชิกระดับต้น ๆ หรือใกล้ชิดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ อีกข้อหนึ่ง คือ สมาชิกเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นคนสนิทของกลุ่มผู้ก่อตั้งแชร์ลูกโซ่อยู่แล้ว ย่อมมีผลประโยชน์คาบเกี่ยวกันมากมาย ดังนั้น จึงสามารถที่จะสร้างภาพลวงร่วมกันได้ สุดท้ายเมื่อได้ระดมทุนตามประสงค์แล้วก็จะปิดตัวลง ซึ่งสมาชิกระดับใกล้ชิดก็จะไม่เสียประโยชน์ใด ๆ ส่วนแมลงเม่าที่บินมาภายหลังส่วนใหญ่จะเป็นผู้เสียหาย และตามตัวผู้รับผิดชอบไม่ได้ เพราะหายเข้ากลีบเมฆไปแล้ว ครั้นจะมาหาข้อมูลจากสมาชิกระดับผู้นำก็เปล่าประโยชน์ เพราะได้ปิดปากตัวเองแล้วจากผลประโยชน์ที่คาบเกี่ยวกันกับเจ้าของแชร์ลูกโซ่


ประเภทของแชร์ลูกโซ่ และลักษณะของแต่ละประเภท


          1. ระบบพีระมิด (Pyramid System) ระบบนี้เน้นการหาสมาชิกรายหัว ซึ่งรายได้ของคนที่มาก่อนมาจากการหาสมาชิกของคนใหม่ที่เกิดขึ้นในขั้นฐาน หากเกิดการหาสมาชิกขาดช่วงลง สมาชิกที่มาก่อนจะเกิดผลกระทบในด้านรายได้ทันที ซึ่งแตกต่างจากระบบ MLM ที่ถึงแม้สมาชิกจะเข้ามาไม่มากก็จ่ายผลประโยชน์ตามระบบได้ ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนฐานแต่อย่างใด เพราะรายได้จะมาจากการขายสินค้าตัวเดิมให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือระบบพีระมิดนั้น คนที่เข้าร่วมธุรกิจก่อนจะได้เปรียบมากที่สุด คนที่เข้ามาทีหลังไม่มีโอกาสแซงได้เลย


          2. ระบบลูกโซ่แบบรู้จบ (Enless Chain System) ระบบนี้เป็นระบบแชร์ลูกโซ่ดี ๆ แต่มีการจบของระบบ คือ การที่สมาชิกเข้ามาก่อนสามารถรับผลประโยชน์จากสมาชิกที่เข้ามาใหม่ แต่จำกัดลำดับขั้น ถ้าสิ้นสุดขั้นที่กำหนดก็ไม่มีสิทธิ์รับผลประโยชน์อีกสมาชิกในระดับถัดลงไป ก็ขึ้นมารับผลประโยชน์ต่อเป็นรายต่อไป รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากสมาชิกที่เข้ามาใหม่ แต่กำหนดลำดับอย่างชัดเจน คือ เมื่อเข้ามาครั้งแรกต้องจ่ายให้กับลำดับที่เพิ่งจะมีรายได้ จนกว่าลำดับตัวเองจะถูกดันขึ้นไปรับผลประโยชน์ ข้อสังเกตก็คือระบบนี้ สมาชิกที่มาภายหลังจะเริ่มไต่อันดับขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะฐานคนจะเริ่มกว้างขึ้นเรื่อย ๆ การหาสมาชิกจะไม่ทันท่วงทีของการที่จะรับรายได้


          3. ระบบลูกบอลหิมะ (Snow Ball System) ระบบนี้คล้ายกับการ Trading ระบบเงิน คือ การลงหุ้นในด้านการเงินแล้วแต่สัดส่วนที่จะลงทุน ลงน้อยได้ผลตอบแทนน้อย ลงทุนมากได้ผลตอบแทนมากตามสัดส่วน การจ่ายผลประโยชน์มีเป็นงวด ๆ ดังนั้น จะใช้เงินของนักลงทุน มาจ่ายให้กับคนที่ลงทุนก่อน หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ จนกว่ารอบที่สัญญาจะหมดไปคล้าย ๆ กับลูกหิมะที่ตกจากภูเขาสูงจะหมุนตัวจากลูกเล็ก ๆ จนเป็นก้อนหิมะยักษ์ที่ถล่มหมู่บ้านให้พังพินาศได้เป็นแถบ ๆ

 
          4. ระบบลูกโซ่ (Chain System) จริง ๆ แล้ว ทุกระบบที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นหนึ่งของระบบลูกโซ่อยู่แล้ว ดังคำจำกัดความที่ให้ไว้ แต่จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ละระบบ ระบบแชร์ลูกโซ่จะแตกต่างกับระบบข้างต้นก็คือ จะไม่มีการจำกัดระยะเวลาตอบแทน และส่วนใหญ่จะให้ข้อตอบแทนที่สูงมากเกินจากการลงทุนเป็นจำนวน 2 - 5 เท่าขึ้นไป

          5. ระบบเกมการเงิน (Money Game System) ระบบเกมการเงิน คือ การใช้เงินต่อเงิน แต่มีเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยน เช่น การสมัครเข้ามาต้องจ่ายเงินให้ผู้แนะนำและหาสมาชิกให้ได้เท่าไหร่จึงจะมีค่า ตอบแทน และการแตกตัวของสมาชิกในเครือข่ายก็จะส่งผลประโยชน์ให้กับสมาชิกระดับสูง ตลอดไป ซึ่งระบบนี้จะมีลักษณะแผนและการตอบแทนใกล้เคียงกับระบบ MLM มาก แต่ไม่มีสินค้าเท่านั้นเอง ใช้เงินต่อเงินเลย หรือบางครั้งอาจใช้สินค้าชิ้นเล็ก ๆ บังหน้า หรืออาจเป็นบัตรส่วนลด บัตรอภิสิทธิ์ต่าง ๆ เช่น ระบบ Pentagono ที่มีคนนำมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อปลายปี 41 จากประเทศอิตาลี เป็นต้น

          6. ระบบแชร์ลูกโซ่แบบไบนารี่กลายพันธุ์ จริง ๆ แล้วระบบไบนารี่ เป็นระบบการตลาดใน MLM ระบบหนึ่ง แต่การนำเอาระบบไบนารี่ไปปรับปรุงเป็นแชร์ลูกโซ่นั้นทำได้ง่ายมากกว่าระบบ อื่น เนื่องจากระบบไบนารี่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจ คือ หาสมาชิกแล้วแบ่งซ้าย ขวา เพื่อให้เท่า ๆ กัน ซึ่งเมื่อแปลงระบบการจ่ายเงินโดยมีสินค้าบังหน้าเล็กน้อยก็สามารถใช้เป็น ระบบแชร์ลูกโซ่ได้อย่างแนบเนียนทีเดียว

แชร์ลูกโซ่ต่างจาก MLM อย่างไร


          หลัง จากแชร์ลูกโซ่ระบาดอย่างหนักเมื่อกว่าสิบปีก่อนนี้ และเข้ามาเกาะอยู่กับธุรกิจขายตรงอยู่ในปัจจุบันกลายเป็นภาพซ้อนที่ทำให้ เกิดความไม่ชัดเจนว่าขายตรงในระบบ MLM ต่างกับแชร์ลูกโซ่อย่างไร


          หาก เป็นแชร์ลูกโซ่ตรง ๆ ไม่ปรุงแต่งแปลงกายก็เป็นเรื่องที่ดูแล้วเข้าใจง่าย เพราะมีการล่าหัวคิวหรือลงทุนแล้วรอรับส่วนแบ่งกันตรงไปตรงมาแทบจะไม่มี สินค้าเป็นจริงเป็นจังมากนัก ในขณะที่อีกด้านหนึ่งการแฝงตัวเข้ามาอาศัยระบบ MLM หากินของบางกลุ่มบางบริษัทนั้น แนบเนียนเกินกว่าจะมองกันอย่างธรรมดา ๆ แต่ต้องมองอย่างชนิดที่ต้องเรียกว่า แยกแยะกันเป็นส่วน ๆ เลยทีเดียว เพราะบริษัทเหล่านี้ได้พัฒนาไปมากกว่าแชร์ลูกโซ่ธรรมดาด้วยการทำทีว่าเป็น MLM ของแท้แต่สร้างเงื่อนไขขึ้นมาใหม่ที่เป็นการเอารัดเอาเปรียบ ดูผิวเผินเหมือนไม่ใช่การระดมเงิน หรือหลอกล่อดึงผลประโยชน์ แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นการดึงเม็ดเงินโดยผ่านกระบวนการสมาชิก ด้วยการจ่ายผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริงทางธุรกิจ เพราะไม่ได้มีเจตนาจะขายสินค้าอย่างเป็นธรรม จึงกลายเป็นกลุ่มที่ทำในรูปของระบบพีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่มีหลายส่วนที่จะแยก ออกมาให้เห็นว่าแชร์ลูกโซ่ที่แอบแฝงอยู่ในธุรกิจ MLM เป็นอย่างไร


          - เริ่มที่ค่าสมัครที่ค่อนข้างสูง และถูกบังคับให้ซื้อสินค้าพร้อมกับการสมัคร บางแห่งอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท ขณะที่บางแห่งสูงกว่า 10,000 บาท ในขณะที่ระบบ MLM ที่แท้จริงไม่มีการบังคับซื้อ


          - ไม่ได้สนใจขายสินค้า แต่การแนะนำเข้าร่วมธุรกิจจะบอกหรือเน้นอยู่ที่การหาคนเข้ามาสมัคร จะมีส่วนแบ่งรายได้ว่าหามากี่คน จะได้ไปกี่พัน กี่หมื่น หรือกี่แสนบาท ขณะที่ MLM เป็นการสร้างธุรกิจเพื่อขายสินค้า และสร้างองค์กรเพื่อให้เกิดการขายอย่างกว้างขวางขึ้น

 
          - การจ่ายผลประโยชน์หรือคอมมิสชั่น มาจากส่วนแบ่งการล่าคนเข้ามาในระบบที่วางกฎบังคับซื้อสินค้า ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการบริโภค แต่แท้ที่จริงแล้วสินค้าเป็นแค่ฉากบังหน้า และเป็นเครื่องมือดึงเงินเข้าระบบ เพราะหากไม่มีการบังคับซื้อก็ไม่สามารถจ่ายค่าหัวคิวเป็นทอด ๆ ได้ ทำให้ระบบเดินต่อไปไม่ได้และล้มไปในที่สุด ขณะที่ MLM มีรายได้จากการขายสินค้าหรือยอดขายสินค้าที่เกิดขึ้นในองค์กร ทั้งหมดนี้เป็นหลักใหญ่ในการพิจารณาดูว่าบริษัทไหนเข้าข่ายเป็นระบบพีระมิด หรือแชร์ลูกโซ่หรือไม่ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่อาจไม่ใช่สาระสำคัญมากนักในการพิจารณา

คัดมาจากบทความ

การกู้ยืมเงิน และการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน
รวบรวมโดย
พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา รอง ผกก.กลุ่มงานสอบสวน ภ.จว.สง